จากการที่นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต แถลงนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปสู่ความเป็น เมืองน่าอยู่คู่คุณธรรม ต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นนโยบายที่ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต คณะบริหาร และเพื่อนสมาชิกได้ลงพื้นที่เพื่อรับรู้ปัญหาความต้องการ ตลอดจนนำนโยบายของกลุ่ม อบจ. คนรักบ้านเรา เสนอต่อพี่น้องประชาชน จนได้รับความไว้วางใจให้เข้ามารับผิดชอบ ปฏิบัติภาระกิจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. นโยบายด้านการบริหาร การเมือง การปกครอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ความอยู่ดีมีสุขของผู้คน องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจะต้องมีการบริหารจัดการแนวใหม่บนพื้นฐานของ หลักธรรมาภิบาล นั่นคือจะต้องคำนึงถึง การพัฒนาในเชิงพื้นที่ และ บริหารแบบกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ - การพัฒนาเชิงพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจะต้องเป็นองค์กรกลางประสานทุกภาคส่วน ไม่ว่าภาคราชการ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล หน่วยงานราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรเอกชน รวมถึงประชาคมในหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงความคิดและปัญหาของชุมชนอย่างเป็นกระบวน การ ตลอดจนถึงบูรณาการแผนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเอกภาพ
- การบริหารแบบกลุ่มเป้าหมาย จะต้องให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบาย เพื่อทำให้ทราบได้ชัดเจนว่า ประชาชนกลุ่มใดจะได้รับประโยชน์จากนโยบายมากน้อยเพียงใด โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยตรง ตลอดจนร่วมมือกับองค์กรสาธารณประโยชน์ สถาบันทางวิชาการ และสื่อสาร มวลชน ในการร่วมดำเนินการ
- ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจะต้องยึด หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรสมัยใหม่ ที่ทำงานเชิงรุกแบบบูรณาการ มีความคล่องตัวรวดเร็ว มีขีดสมรรถนะและสร้างผลงานได้สูง (high performance) เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การปฏิบัติงานตามนโยบาย ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
- เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหารวมทั้งการให้บริการเชิงรุก เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ทันสมัย
- จัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยจัดให้มี Call Center เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที รวมตลอดถึงการจัดให้ที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ประชาชน
- จัดโครงการ อบจ.สัญจร เพื่อให้บริการชุมชนและรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนถึงบ้าน
- สนับสนุนให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต พร้อมให้บริการประชาชนอย่างเต็มที่และความเต็มใจ
- พัฒนาองค์การและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและส่งเสริมศักยภาพของบุคคล
- มุ่งสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตในทุกระดับ ด้วยการดูแลสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน โดยกำหนดแนวทางการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักคุณธรรม
- ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาคมท้องถิ่นในจัง หวัดภูเก็ตให้มีความเข้มแข็ง
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน เพื่อให้ชาวภูเก็ตทุกคนได้มีส่วนในการสร้างอนาคตร่วมกัน
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากเรามีจุดแข็ง (Strength) ในด้านการท่องเที่ยวอยู่หลายประการ ไม่ว่าทรัพยากรท่องเที่ยวที่งดงาม โดดเด่น หลากหลายและมีชื่อเสียงระดับโลก ทรัพยากรมนุษย์มีความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนา มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและหลากหลาย มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ บริการสิ่งอำนวยความสะดวก มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ต ได้รับการจัดสรร งบประมาณจากรัฐบาล เพื่อการพัฒนาและใช้ศักยภาพดังกล่าวอันจะนำมาซึ่งรายได้ทางเศรษฐกิจที่สูง ขึ้นน้อยมาก นโยบายด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ภายใต้การบริหารของกระผม จึงจะเน้นการดำเนินการใน 2 ส่วน คือ การสนับสนุน ผลักดันการแปลง แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตของรัฐบาลให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ และ 2) ใช้ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อส่งเสริมพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล ระดับ Premium World Class อันจะนำมา ซึ่งรายได้ของประชาชน และจังหวัดโดยรวม กล่าวคือ - สนับสนุน ผลักดันแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตและรัฐบาล ที่จะสร้างความแตกต่างเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยว (Increase Value From Tourism) เช่น การก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) การส่งเสริมให้จังหวัดภูเก็ต เป็นศูนย์บริการสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (International Medical Service,Health Service and Spa Health Tourism) การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเป็นสวรรค์ของการช้อปปิ้งนานาชาติ (Shopping Paradise, OTOP Bazaar) การใช้จุดเด่นเรื่องอาหารในการพัฒนาการท่องเที่ยว
- รักษาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม และทางทัศนียภาพของภูเก็ต
- พัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม และปรับโครงสร้างพื้น ฐานให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล
- สนับสนุนการยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่อง เที่ยวสู่มาตรฐานสากล
- ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
- สนับสนุนให้มีการผลิตบุคลากรเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในภูเก็ตทุกประเภท ทุกระดับอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันศึกษากับผู้ประกอบการ
- ขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก เช่น สร้างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ 9) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง
- สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตเมือง เพื่อฟื้นธุรกิจและเศรษฐกิจในเขตเมือง
- เพิ่มคุณค่าย่านสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต และสนับสนุนการอนุรักษ์อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
- ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประ เพณีของจังหวัดภูเก็ต
- สร้างศูนย์แสดงสินค้าสำหรับรองรับสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจำ หน่ายให้กับนักท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
- สนับสนุนการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวโดยฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า เป็นต้น
- จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางการท่องเที่ยวเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
- สนับสนุนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระบบเตือนภัย
3. นโยบายด้านการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตมีภาระที่จะต้องรับถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐานจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดให้มีสถานที่เรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน เสื้อผ้านักเรียน อาหารกลางวันให้พอเพียง สำหรับนโยบายด้านการศึกษานี้ กระผมจะยึดมั่น ในกรอบของแผน การศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 คือจะมุ่งสู่สังคมความรู้อย่างมีคุณภาพ โดยสมาชิกในสังคมต้องคิดเป็น คิดชอบ ทำเป็น ทำชอบ และแก้ปัญหาเป็น แก้ปัญหาชอบ และต้องรู้อย่างมีคุณภาพ โดยมีพื้นฐานความรู้ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และสามารถสื่อสารทำความเข้าใจ สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และคิด รวมทั้งมีความสามารถ ในการประกอบ สัมมาอาชีพเป็นผู้นำที่ดี อยู่ดีมีสุข ในสังคมที่หลากหลายวัฒนธรรม โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ - เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในทุกโรงเรียนทั่วทั้งจังหวัด โดยสนับ สนุนให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาในจังหวัดภูเก็ตให้มีครูที่มีคุณภาพ และเพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- สนับสนุนอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษาแก่สถาบันการ ศึกษาทุกระดับ
- ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ให้เกิดความเท่าเทียมกันในจังหวัด
- จัดให้มีโรงเรียนต้นแบบทางการศึกษาปฐมวัยในจังหวัดภูเก็ต เพื่อจัดการ ศึกษาและเตรียมความพร้อมทางด้านทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมให้กับเด็กปฐมวัย ตลอดจนสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างทั่วถึง
- ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรและสถานศึกษาในสังกัด ได้รับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดภูเก็ต ให้มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในการติดต่อสื่อสาร โดยเน้นฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศที่เยาวชนให้ความสนใจ โดยเน้นความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษา
- ส่งเสริมการเรียนรู้คู่คุณธรรม สนับสนุน ให้สถาบันศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้โดยการนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นเครื่องมือในการพัฒ นาคุณธรรมจริยธรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความ ต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาอาชีพ
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม
4. นโยบายด้านสาธารณสุข ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตได้จัดตั้งกองสาธารณสุขขึ้นแล้ว โดยมีหน้าที่บริหารจัดการเกี่ยวกับงานรักษาพยาบาล งานส่งเสริมสุขภาพ งานสาธาร ณสุขมูลฐาน เป็นหลัก เพื่อดูแลสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน ดังนั้น นโยบายเกี่ยว กับการจัดตั้งโรงพยาบาล ขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดจึงยังคงเดินหน้าต่อไป แต่การบริหารงานสาธารณสุขจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการบริหารใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ส่วนที่เป็น ชุดบริการในระดับปฐมภูมิ (Primary care) และ ชุดบริการโดยโรงพยา บาล ที่ต้องการเข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยใน รพ. หรือต้องการ เทคโนโลยีทางการแพทย์มากขึ้น ทั้งนี้โดยเน้น การบริการสาธารณสุขเชิงรุก ในด้านระบบบริการปฐมภูมิ เช่น จัดตั้ง ศูนย์บริการ สาธารณสุขชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีโอกาสรับบริการทางการแพทย์มากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง ไปรับบริการภายนอกชุมชน และลดความแออัดในการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้ - จะบริหารจัดการโรงพยาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เกิดประ โยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในด้านประสิทธิภาพ ความเท่าเทียมและ คุณภาพ
- พัฒนาสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านให้มีคุณภาพมาตรฐาน ให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดบริการรองรับการดูแลผู้ป่วยที่ส่งต่อกลับมาจากโรง พยาบาลขนาดใหญ่ หรือการทำหน้าที่เป็น พี่เลี้ยง ที่ให้ความช่วยเหลือและแนะนำครอบครัวผู้ป่วยที่มีความพร้อมในการรับผู้ป่วย ไปดูแลต่อที่บ้าน ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่ทำให้ผู้ป่วยทุกคนรู้สึกอุ่นใจมากที่สุด
- จัดรถทันตกรรมเคลื่อนที่บริการในชุมชนและโครงการแพทย์พยาบาลเยี่ยมบ้าน
- สนับสนุนเครือข่าย อสม. ให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง เพื่อบริการสาธารณสุข
5. นโยบายด้านคุณภาพชีวิต สังคมจะมีความมั่นคงได้ ประชาชนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความหมายของ คุณภาพชีวิต ไม่เพียงเป็นความไม่เจ็บไม่ป่วยไม่ไข้ แต่มีความหมายมากกว่านั้น อาทิ การมีความสุข อยู่ดีมีสุข การมีที่อยู่ที่ดี การมีสุขภาพที่ดี การมีชีวิตที่ยืนยาว จนถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี ความปลอดภัย นโยบายการบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตภายใต้การบริหารของกระผม จะมุ่งเน้นสนับสนุนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน เด็ก เยาวชน ผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ดังนี้ - ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เยาวชนและศูนย์ผู้สูงอายุ เพื่อการกีฬาและนันทนาการ
- ส่งเสริมเบี้ยยังชีพสำหรับผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเอดส์ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- สนับสนุนเครือข่าย อปพร.ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อบริการด้านความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของชุมชน
- สนับสนุนให้จัดสร้างสนามกีฬาระดับมาตรฐาน และสถานที่ออกกำลังกาย สวนสาธารณะ เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึง
- ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชน
- สนับสนุนและส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และป้องกันปัญหายาเสพติด
- สนับสนุนส่งเสริม ทะนุบำรุงศาสนาและจริยธรรม
- ส่งเสริมการพัฒนาจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงาม ของจังหวัดภูเก็ต
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนารายได้ของประชาชน
6. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานแก่ประชาชนจังหวัดภูเก็ต จึงวางนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้ - ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ
- ส่งเสริมการพัฒนาและรักษาดูแลแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้มีน้ำสะอาอาดเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
- พัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการคมนาคมภายในจังหวัด สนับสนุนการใช้วิศวกรรมจราจร เพื่อแก้ปัญหาจราจร เช่น สร้างอุโมงค์ ทางลอด ทางข้ามและถนนเพิ่ม ตลอดจนให้บริการรถโดยสารฟรีแก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อลดปัญหาจราจรแออัด
- สนับสนุนการสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารริมทาง
- สนับสนุนการก่อสร้างปรับปรุงถนน ทางระบายน้ำ สะพานท่าเทียบเรือ และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และเชื่อมโยงเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ
- แก้ปัญหาความจำเป็นเดือดร้อนของประชาชนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีการร้องขอ ร้องทุกข์โดยเร่งด่วน และเร่งรัดประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
- ประสานร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการอื่นเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนเครื่องมือ เครื่อง จักรกล ผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญการในการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่จังหวัด แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการตามที่ได้รับการร้องขอในลักษณะของ การปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อดำเนินการงานด้านโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่เกินศักยภาพขององค์กรนั้น
7. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่มีค่าสำคัญสำหรับจังหวัดภูเก็ต เพื่อร่วมมือกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน จึงมีนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ - ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกื้อกูลประโยชน์ อย่างสมดุลและยั่งยืน
- สนับสนุนให้มีระบบกำจัดขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะในชุมชน และศูนย์รีไซเคิลแบบครบวงจร
- ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกัน และบำบัดมลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- สนับสนุนให้สร้างสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ และห้องสมุดในสวน เพื่อให้ประชาชนได้ค้นหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจ
- ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามเส้นทางคมนาคมรอบเมืองภูเก็ตให้มีความสะอาด สวยงาม
8. นโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จะผลักดันแนวนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจังหวัดภูเก็ต มาทำให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้น กรอบนโยบายที่สามารถทำได้จริง จับต้องได้ เห็นผลได้ภายใจระยะเวลาอันสั้น และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวคือ - สนับสนุนการใช้กล้องวงจรปิด CCTV ในการรักษาความปลอดภัย และแก้ปัญหาจราจรอย่างมีประสิทธิภาพในภาพรวมของจังหวัด โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- พัฒนาเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นเว็บไซต์ต้นแบบ เพื่อเป็นแนวทางนำร่องให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการใช้เว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประชาชนผู้ใช้บริการ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการในจังหวัดภูเก็ต
- พัฒนาการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Internet ไร้สายสาธารณะ ให้บริการ Internet ไร้สายสาธารณะ ดำเนินการร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดให้มี Internet ไร้สายครอบคลุมทั้งจังหวัดภูเก็ต
- พัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับบุคลากรในท้องถิ่น
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภูเก็ตเป็นเมือง IT เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลรองรับการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการภาครัฐ
- สนับสนุนให้มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ท เพื่อประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ใช้บริการค้นหาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
- สนับสนุนให้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต และมีทักษะพร้อมรับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
|