 |
บริการประชาชน |
 |
|
Untitled Document |
|
 |
 |
รวมลิงค์ |
 |
|
Untitled Document | | | | | |
|
 |
|
 |
|
 |
|
ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงแก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับ โดยจัดให้สภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 ฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้น มีลักษณะเป็นองค์การแทนประชาชนทำหน้าที่ ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัดยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วน ภูมิภาคหรือเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นตามกฎหมาย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้นโดยมีความประสงค์ที่จะแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะสำหรับ สาระสำคัญขอพระราชบัญญัติฯ นั้นยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะและบทบาทของสภาจังหวัดไปจากเดิม กล่าวคือสภาจังหวัดยังคงทำ หน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของขณะกรรมการจังหวัดเท่านั้นจนกระทั้งได้มีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบ บริหารราชการในส่วนจังหวัด ของกระทรวง ทบวงกรมต่าง ๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการจังหวัดเดิม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯ นี้ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภา ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เนื่องจากบทบาทและการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษา ซึ่งคอยให้คำแนะนำและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ จังหวัด ไม่สู้จะได้ผลตามความมุ่งหมายเท่าใดนักจึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพโดยให้ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองยิ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2498 อันมีผลให้เกิด "องค์การบริหารส่วนจังหวัด" ขึ้นตามภูมิภาค
ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งเมื่อสภาจังหวัดแปรสภาพมาเป็นสภา การปกครองท้องถิ่น จึงมีบทบาทและอำนาจหน้าที่เพิ่ม ขึ้นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจอำนาจหน้าที่และบทบาทของสภาจังหวัดจากอดีตจน ถึงปัจจุบัน จึงขอแบ่งระยะ วิวัฒนาการของสภาจังหวัดออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1.ในอดีต (พ.ศ. 2476 - 2498) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ที่ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดขึ้น ตามพระราชบัญญัติระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ซึ่งนับเป็นจัดกำเนิด และรากฐานของการพัฒนาที่ทำให้ให้มีหน่วยงานปกครองท้องถิ่นในรูปองค์การ บริหารส่วนจังหวัดขึ้น จนถึงปี พ.ศ.2498 นั้นอาจกล่าวโดยสรุปถึงฐานะอำนาจหน้าที่บทบาทของสภาจังหวัดได้ว่ามีลักษณะ ดังนี้
ฐานะสภาจังหวัดในขณะนั้นก็ยังมิได้มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นและเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนภูมิภาคตามกฎหมาย เป็นเพียงองค์กรตัวแทนประชาชน รูปแบบหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำแก่จังหวัดซึ่งพระราชบัญญัติ บริหารราชการแห่งพระราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 กำหนดให้จังหวัด เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค อำนาจการบริหารงาน ในจังหวัดอยู่ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานสภาจังหวัด จึงมีบทบาทเป็นเพียงที่ปรึกษา เกี่ยวกับกิจการของสภาจังหวัดแก่คณะกรรมการจังหวัดและคณะกรรมการจังหวัด ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเสมอไป กระทั่งในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนแผ่นดินกำหนดให้ผู้ว่า ราชการจังหวัด สภาจังหวัด เปลี่ยนบทบาทจากสภา ที่ปรึกษาของกรรมการจังหวัดมาเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับอำนาจหน้าที่ของสภาจังหวัดพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481มาตรา 25 ได้กำหนดให้สภาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.ตรวจและรายงานเรื่องงบประมาณที่ทางจังหวัดตั้งขึ้น และสอบสวนการคลังทางจังหวัดตามระเบียบ ซึ่งจะได้มีกฎกระทรวง กำหนดไว้
2.แบ่งสรรเงินทุนอุดหนุนของรัฐบาลระหว่างบรรดาเทศบาลในจังหวัด
3.เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อคณะกรรมการจังหวัดในกิจการจังหวัด ดังต่อไปนี้
ก. การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ข. การประถมศึกษาและอาชีวศึกษา
ค. การป้องกันโรค การบำบัดโรค การจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล
ง. การจัดให้มีและบำรุงทางบก ทางน้ำ
จ. การกสิกรรมและการขนส่ง
ฉ. การเก็บภาษีอากรโดยตรง ซึ่งจะเป็นรายได้ส่วนจังหวัด
ช. การเปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และเขตเทศบาล
4.ให้คำปรึกษาในกิจการคณะกรรมการจังหวัดร้องขอ
2.ในปี (พ.ศ. 2498 - 2540)การจัดตั้งและการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบราชการส่วน จังหวัดพ.ศ. 2498 ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและประกาศของคณะ ปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ได้กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงเป็นหน่วยราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และในพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไว้ เช่น การรักษาความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม การสาธารณูปการ การป้องกันโรค การบำบัดโรคและการจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล ฯลฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังอาจทำกิจการซึ่งอยู่นอกเขตเมื่อกิจการนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับ กิจกรรมที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตนโดยได้รับความยินยอมจาก สภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาล สภาจังหวัด หรือ สภาตำบลที่เกี่ยวข้องนั้น และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วด้วย
3.ปี (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ตอนที่ 62 ก ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2540 โดยใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมาย ที่กล่าวถึงระเบียบวิธีการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแทนที่องค์การบริหารส่วน บริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 สำหรับเหตุผลของการ ใช้พระราชบัญญัติฉบับ นี้อาจพิจารณาได้จากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติซึ่งระบุว่า "โดยที่องค์การ บริหารส่วนจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นที่รับผิดชอบใน พื้นที่ทั้งจังหวัดที่อยู่นอกเขตสุขาภิบาลและเทศบาล เมื่อได้มีพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้สมควร ปรับปรุงบทบาทแล อำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สอดคล้องกัน และปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
นอกจากจะพิจารณาในเหตุผลของพระราชบัญญัติแล้ว จากบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ครั้งที่ 2 วันที่ 13 มีนาคม 2540 ที่ประชุมได้อภิปรายประเด็นวัตถุ ประสงค์ของการออกกฎหมายสรุปว่า
1.เพื่อจัดระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจุบันมีปัญหาด้านการบริหารการ จัดการด้านพื้นที่ และรายได้ช้ำซ้อน
2.เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองท้องถิ่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการขยายความ เจริญเติบโตของแต่ละท้องถิ่น
3.เพื่อเป็นการถ่ายโอนอำนาจการปกครองส่วนภูมิภาคมาสู่ท้องถิ่น โดยให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่ในการ ประสานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นการประสานกับรัฐบาลและตัวแทนหน่วยงานของรัฐการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณที่ เคยอยู่ใน ภูมิภาคไปอยู่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
4.เพื่อเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น โดยจะเพิ่มอิสระให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดมากขึ้นด้วย โดยการลด การกำกับดูแลจากส่วนกลางลง
โครงสร้างสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผู้แทนของปวงชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4ปี จำนวนสมาชิกที่จะมีได้ในแต่ละจังหวัดจะไม่เท่ากันโดยให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้ง โดยสรุปจะมีจำนวนสมาชิกในแต่ละจังหวัด ดังนี้
ก. ฝ่ายบริหาร มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร (เดิม คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด) มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ช่วย และมีปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
การแบ่งส่วนราชการของฝ่ายบริหาร ได้มีพระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2541 แบ่งหน่วยการบริหารของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดออกเป็นส่วน ดังนี้
1.ส่วนอำนวยการ
2.ส่วนกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
3.ส่วนแผนและงบประมาณ
4.ส่วนการคลัง
5.ส่วนช่าง
6.ส่วนอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีประกาศองค์การฯ ตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจังหวัด (ก.จ.)
ข. ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (เดิม คือ สมาชิกสภาจังหวัด) ที่ราษฎรเลือกตั้งตามกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
สมาชิกที่ได้รับการเลือกจะสิ้นสุดสภาพด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1.ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี หรือมีการยุบสภาโดยคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2.ตาย
3.ลาออกโดยยื่นใบลาออกจากตำแหน่งต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การลาออกจะมีผลสมบูรณ์เมื่อได้ยื่นใบลาออก ต่อ ประธานสภา หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ลงทะเบียนรับตามระเบียบทาง ราชการ สำหรับใบลาออกที่มีเงื่อนเวลาจะมี ผลสมบูรณ์เมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น
4.ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออกเมื่อปรากฏว่าเป็นผู้ขาด คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
5.รัฐมนตรีสั่งให้ออกเมื่อผู้ว่าราชการสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาสัมปทานที่ ทำกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
6.สภามีมติให้ออกจากตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความ เสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่สภา หรือกระทำการอันอาจเสื่อมผลประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมติที่ให้ ออกจากตำแหน่งต้องไม่ต่ำสามในสี่ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่
7.ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ลงคะแนนเสียงให้สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจาก ตำแหน่งในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิ้นสุดลง พร้อมกันทั้งหมดให้ถือว่าเป็นการยุบสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด
|
|
 |
|
 |
|
 |
นายก อบจ.ภูเก็ต |
 |
|
Untitled Document |
|
 |
 |
เผยแพร่ |
 |
|
Untitled Document  |  |
 |
|
 |
|
มีผู้เข้าเยี่ยมชม
      ตั้งแต่ 1-10-2013
|
|
 |
@ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 5 ถ.นริศร ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076-211877, 076-354204 โทรสาร 076-210422 |
|
|
|